การเป็นเชฟอาหารไทยนอกเหนือจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาแล้วใจรักการบริการ การมีมุมมองที่ต้องคิดบวก มีความอ่อนน้อมถ่อมตนและการพัฒนาปรับปรุงงานที่ทำให้ดีต่อเนื่อง มีระเบียบมีวินัยในตนเองเคารพในความคิดเหน็ของผู้อื่น ต้องมีการวางแผน การจัดการและบริหารงานในห้องครัว รวมถึง คิดเมนูอาหารที่จะประกอบอาหารให้เสร็จสำเร็จถีงมือลูกค้า
ผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจได้รับการเรียกว่า "พ่อครัว" หรือ "แม่ครัว" ต้องมีความรู้ในการทำหรือปรุงอาหารไทย อาหารฝรั่ง หรืออาหารจีนรวมทั้งการทำของหวาน หรืออาจมีความรู้ในการประกอบอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่กล่าวมา ซึ่งต้องทำหน้าที่และมีความรู้หลักดังนี้ 1. วางแผนออกรายการประกอบอาหารต่อมื้อ หรือรายวัน อาจเป็นรายการอาหารไทย หรืออาหารเทศและของหวาน 2. กำหนดรายการเครื่องประกอบอาหารซึ่งอาจจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับฤดูกาลสำหรับเครื่องปรุงบางประเภทเช่น ผักสด ปลา เนื้อสัตว์ ผลไม้ 3. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายตามรายการที่กำหนดเป็นรายวันหรือตามระยะเวลา ที่เหมาะสม เช่น 2 วัน 3 วัน เป็นต้น จัดซื้อหรือสั่งการซื้อรายการเครื่องประกอบอาหารวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาหาร เครื่องปรุงอาหาร และเก็บอาหาร ถนอมอาหารแต่ละประเภท ให้เหมาะสม 4. จัดการเตรียมส่วนประกอบอาหาร เพื่อพร้อมปรุง เช่น หั่นเนื้อสัตว์ หั่นผัก เตรียมเครื่อง ปรุงรส 5. ถ้าประกอบอาหารไทยต้องปรุงรสและปรุงอาหารไทยด้วยกรรมวิธีแตกต่างกันไป เช่น แกงจืด แกงเผ็ด ต้มยำ ผัดต้ม ย่าง อบ ปิ้ง นึ่ง ทอด เจียว ตุ๋น น้ำพริก หลน ยำ ปรุงอาหารตาม ใบสั่ง ปรุงอาหารเป็นชุด หรือปรุงอาหารจานเดียว 6. ในการทำของหวานอาจเป็นผลไม้ ซึ่งต้องจัดและปอกผลไม้ ชิมรสของหวานหรือขนม และจัดแต่งให้สวยงาม 7. ให้คำแนะนำผู้ช่วยปรุงอาหาร ควบคุมปริมาณ และควบคุมการล้างจานและสิ่งที่ใช้บริโภคอื่นๆ 8. อาจทำหน้าที่คัดเลือกคนงาน และแนะนำวิธีเสริฟอาหาร 9. อาจจัดเก็บข้อมูลคุณค่าอาหารทางโภชนาการของแต่ละชนิด และข้อมูลฤดูกาลของอาหาร และผลไม้สด ไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการจัดหาและการเก็บถนอม การที่ต้องมีความอดทนและความรักในการทำงานรวมถึงการมีสุขภาพกายจิตใจที่ดีมีส่วนต่อการทำงานในหน้าที่ของแม่ครัวและพ่อครัวที่ต้องยอมรับคำติชมได้ทุกสถานการณ์ |